5 วัสดุมุงหลังคา
โครงสร้างหลังคาเหล็ก สามารถแบ่งอออกเป็น 2 ชนิดย่อย ๆ
โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณ ที่เป็นเหล็กตัว C มาทำการชุบสีกันสนิมและสีน้ำมัน แล้วนำเชื่อมต่อกันเพื่อขึ้นรูป
โครงสร้างที่หน้างาน มักจะเป็นเหล็กที่มีความหนาราว ๆ 3 มม. เหมาะสำหรับใช้กับกระเบื้องลอนคู่ ส่วนความหนาขึ้นมาขนาด 3.2 มม.
จะใช้กับกระเบื้องโมเนีย ซึ่งเจ้าของบ้านต้องตรวจเช็กขนาดความหนาของเหล็กที่ใช้ทำโครงหลังคาให้ดีนะครับ
โครงหลังคาสำเร็จรูป จะมีน้ำหนักที่เบากว่าโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ ผ่านการเคลือบผิวป้องกันสนิม แล้วผ่านการเคลือบกันสนิม
ซึ่งจะมีการคำนวณการรับน้ำหนักจากโปรแกรมทางวิศวกรรม พร้อมวัดขนาดและตัดมาจากโรงงาน
โดยคำนวณน้ำหนักตามรูปทรงแบบหลังคาบ้านแต่ละหลัง และชนิดของกระเบื้องหลังคาที่ใช้ไป รวมถึงแรงลมในแต่ละพื้นที่
เพื่อให้ได้โครงสร้างหลังคาที่ดีที่สุดเหมาะกับแบบหลังคาบ้านคุณ
1.โครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็ง
โครงสร้างหลังคาไม้เนื้อแข็งจะมีราคาค่อนข้างแพง และหาไม้ที่มีคุณภาพดีได้ยาก เนื่องจากจะเจอไม้ที่มีลักษณะบิดงอเป็นส่วนใหญ่
และมักจะมีปัญหาเรื่องปลวกตามมาอีกด้วย ทางที่ดีคนรักบ้านทุกท่านควรทาน้ำยากันปลวกและเลือกวัสดุโครงหลังคา
ทำจากไม้เนื้อแข็งจะช่วยป้องกันปลวกได้ครับ
2.แผ่นเหล็กเมทัลชีท หรือหลังคาโลหะเคลือบ
ข้อดี เป็นวัสดุหลังคาที่น้ำหนักเบา โดยมีการผสมอลูมินัม เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดสนิม รวมถึงการเคลือบ และอบสี
เพื่อช่วยลดการกัดกร่อน และสะท้อนความร้อนได้ ติดตั้งได้ง่าย รอยต่อน้อย ทำให้หลังคาดูสวยงาม ไร้ที่ติ
ข้อเสีย หลังคาเกิดเสียงดังได้ง่าย และมีอายุการใช้งานที่สั้นเมื่อเทียบกับวัสดุชนิดอื่น
3.กระเบื้องดินเผา
ข้อดี มักใช้กับหลังคารูปทรงเก่า หรือทรงอนุรักษ์แบบดั้งเดิม มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์ และมีความเป็นไทย แฝงกลิ่นอายย้อนยุค ให้ความรู้สึกที่อบอุ่น
ข้อเสีย ปัจจุบันไม่นิยมใช้สำหรับบ้านพักอาศัย เนื่องจากต้องหลังคาจะมีองศาที่ลาดชันมาก ซึ่งหลังคากระเบื้องดินเผา
จะมีรูพรุนค่อนข้างมาก ทำให้อมความชื้นได้สูง รวมถึงเกิดคราบสกปรกบนผิวกระเบื้องได้ง่าย และมีลักษณะที่แตกเปราะ รั่วซึมง่าย
4.กระเบื้องคอนกรีต
ข้อดี กระเบื้องคอนกรีต มีความแข็งแรงทนทานมาก สามารถต้านทานต่อการพัดปลิวของแรงลมได้ กันความร้อนได้ดี และมีสีสันให้เลือกเยอะ
นำมาติดตั้งได้ง่าย แผ่นกระเบื้องคอนกรีตยังมีขนาดพอดีเข้ากับรูปทรงบ้านได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญสามารถนำมาใช้ได้เกือบทุกสภาพอากาศในเมืองไทยได้อีกด้วย
ข้อเสีย ตัวกระเบื้องจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก จึงต้องใช้โครงสร้างที่มีความแข็งแรง เพื่อให้รองรับน้ำหนักของกระเบื้องได้
ทำให้ต้องเพิ่มความแข็งแรงของโครงหลังคามากขึ้น และราคาก็อาจจะแพงขึ้นด้วย
กระเบื้องแกรนาด้า สีดำไนท์
5.กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์
ข้อดี มีความแข็งแรงทนทาน กันความร้อนได้ดี ราคาที่ไม่แพง ถูกกว่ากระเบื้องคอนกรีต จึงนิยมใช้กับหลังคาที่มีขนาดใหญ่และมีพื้นที่กว้าง ๆ
มีสีสันลวดลายพื้นผิวให้เลือกเยอะ
ข้อเสีย เมื่อเปรียบเทียบกับกระเบื้องคอนกรีตแล้ว ความทนทานอาจจะน้อยกว่าเล็กน้อย
ปัจจุบันกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบและสีสันให้เลือกหลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์บ้านได้ทุกสไตล์
อย่าง กระเบื้องหลังคา เฌอร่า ซีดาร์เชค กับ หลังคา เฌอร่า สเลท ก็สามารถเติมเต็มความความงามให้กับหลังคาบ้านคุณได้ทั้งสไตล์ไทย
และสไตล์ตะวันตก
ช่างต่อเติมหลังคาหน้าบ้านเมทัลชีท
แบบต่อเติมหน้าบ้านโมเดิร์นแถว
ผู้รับเหมาทำหลังคาหน้าบ้านเมทัลชีท
แบบหลังคาหน้าบ้านทาวน์เฮาส์
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้านแบบไหนดี
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้านราคาถูก.
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้าน
ต่อเติมหลังคาหน้าบ้านทาวน์เฮ้าส์
ติดต่อช่างต่อเติมหลังคา


